การติดตามผลการดำเนินงานของกองทุน |
การติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือเป็นหน้าที่พึงปฏิบัติของสมาชิก เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเองแล้ว สมาชิกยังสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับกลยุทธ์การลงทุนได้อีกด้วย ทั้งนี้ สมาชิกสามารถพิจารณาได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้
ใบแจ้งยอดเงินราย 6 เดือน
ใบแจ้งยอดเงินราย 6 เดือน ซึ่งบริษัทจัดการจัดส่งให้สมาชิกภายในเดือนมกราคมและกรกฎาคมของทุกปี จะมีข้อมูลที่สมาชิกสามารถนำมาใช้ประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างง่ายๆ ได้แก่ มูลค่าต่อหน่วยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
มูลค่าต่อหน่วย (Unit value) คืออะไร?
เพื่อให้สมาชิกรับทราบและสามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนได้อย่างชัดเจน จึงมีการจัดทำข้อมูลการลงทุนของสมาชิกเป็นจำนวนหน่วย เพิ่มเติมจากการแสดงข้อมูลเป็นจำนวนเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งจำนวนหน่วยนี้จะใช้เป็นฐานในการคำนวณมูลค่าต่อหน่วย ดังนี้
มูลค่าต่อหน่วย = มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จำนวนหน่วยทั้งหมด
|
การเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน
ในการจะทราบว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่คุณเป็นสมาชิกอยู่มีผลการดำเนินงานดีหรือไม่ คงจะต้องมีการเปรียบเทียบเกิดขึ้น โดยในที่นี้จะขอเสนอแนวทางการเปรียบเทียบ 3 แนวทาง ดังนี้
1. เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุน
ให้ตรวจสอบว่า "มูลค่าต่อหน่วย" ที่แสดงในใบแจ้งยอดเงินราย 6 เดือน ครั้งล่าสุดกับมูลค่าต่อหน่วยในงวดที่ผ่านมา หากเห็นว่ามูลค่าต่อหน่วยสูงขึ้น ก็หมายความว่า ผลประกอบการของกองทุนดีขึ้น แต่หากมูลค่าต่อหน่วยลดลง ก็หมายความว่า ผลประกอบการของกองทุนไม่ดี
2. เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของกองทุนอื่น
นอกจากการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าต่อหน่วยแล้ว สมาชิกอาจใช้วิธีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่คุณเป็นสมาชิกอยู่กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอื่น หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
วิธีการ คือ คำนวณว่าแต่ละกองทุนสร้างผลตอบแทนได้เท่าไร โดยเทียบเป็นร้อยละ เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ ตามสูตรดังนี้
มูลค่าต่อหน่วยปัจจุบัน - มูลค่าต่อหน่วยวันที่เริ่มลงทุน x 100
มูลค่าต่อหน่วยวันที่เริ่มลงทุน
|
3. เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark)
เพื่อให้สมาชิกสามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนได้อย่างถูกต้อง Benchmark ที่ใช้ควรเป็นตัวชี้วัดผสม (Composite benchmark) ที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน และคำนวณจากข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกับผลการดำเนินงาน โดย Benchmark สามารถแยกตามประเภทตราสารได้ดังนี้
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
ประเภทตราสาร
|
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
|
1. ตราสารทุน |
- อัตราผลตอบแทนของดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index)
- อัตราผลตอบแทนของดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม 50 หลักทรัพย์ (SET 50 Index)
- อัตราผลตอบแทนของดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม 100 หลักทรัพย์ (SET 100 Index)
- อัตราผลตอบแทนของดัชนีผลตอบแทนรวมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Total Return Index)
- อัตราผลตอบแทนของดัชนีผลตอบแทนรวมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม 50 หลักทรัพย์ (SET 50 Total Return Index)
- อัตราผลตอบแทนของดัชนีผลตอบแทนรวมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม 100 หลักทรัพย์ (SET 100 Total Return Index)
|
2. ตราสารหนี้
2.1 ตราสารหนี้ภาครัฐ
2.2 ตราสารหนี้ทั่วไป
(ภาครัฐและภาคเอกชน)
|
- อัตราผลตอบแทนของ ThaiBMA Zero Rate Return “ZRR” Government Bond Index อายุ 6 เดือน
- อัตราผลตอบแทนของ ThaiBMA Zero Rate Return “ZRR” Government Bond Index อายุ 2 ปี
- อัตราผลตอบแทนของ ThaiBMA Zero Rate Return “ZRR” Government Bond Index ที่มีอายุเท่ากับ target duration ของนโยบายการลงทุนของกองทุน
- อัตราผลตอบแทนของ Total Return of ThaiBMA Government Bond Index
- อัตราผลตอบแทนของ Total Return of ThaiBMA Government Bond Index-Maturity Sub Group 1
- อัตราผลตอบแทนของ ThaiBMA Zero Rate Return “ZRR” Government Bond Index อายุ 6 เดือน
- อัตราผลตอบแทนของ ThaiBMA Zero Rate Return “ZRR” Composite /Government Bond Index อายุ 2 ปี
- อัตราผลตอบแทนของ ThaiBMA Zero Rate Return “ZRR” Composite /Government Bond Index) ที่มีอายุเท่ากับ target duration ของนโยบายการลงทุนของกองทุน
- อัตราผลตอบแทนของ Total Return of ThaiBMA Composite/Government Bond Index
- อัตราผลตอบแทนของ Total Return of ThaiBMA Composite/Government Bond Index-Maturity Sub Group 1
|
3. เงินฝากประจำ
|
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพึงได้รับ วงเงิน 1 ล้านบาท เฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงไทย
|
ตัวอย่าง การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้น A ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นเป็นหลัก
|
กองทุนหุ้น A
|
ดัชนีราคาหุ้น
|
31 ธันวาคม 2545
|
10.2379 บาท
|
607.12 จุด
|
31 ธันวาคม 2546
|
11.2546 บาท
|
658.24 จุด
|
ผลตอบแทน
|
(11.2546 - 10.2379)/10.2379 x 100 = +9.93%
|
(658.24 - 607.12)/607.12 x 100 = +8.42%
|
จากตัวอย่างข้างต้น หมายความว่า กองทุนหุ้น A ซึ่งลงทุนในหุ้น 100% มีผลการดำเนินงานดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งในที่นี้ คือ SET Index แสดงว่า ฝีมือในการบริหารของบริษัทจัดการอยู่ในเกณฑ์ดี
สำหรับกองทุนผสม (Mixed fund) ต้องถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ benchmark ให้สอดคล้องกับสัดส่วนการลงทุนที่แท้จริง ทั้งนี้ ในส่วนของตราสารทุน จะต้องถัวเฉลี่ยน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของสัดส่วนการลงทุนต่ำสุดและสูงสุด ((minimum limit + maximum limit)/2) ซึ่งกำหนดไว้ในนโยบายการลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนอาจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารเงินลงทุน แต่ไม่ได้เป็นการรับประกันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
|