9.
|
ผู้รับฝากทรัพย์สิน
|
|
|
9.1
|
ผู้รับฝากทรัพย์สินคือใคร
|
ตอบ
|
ผู้รับฝากทรัพย์สิน คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆ ติดตามสิทธิประโยชน์ในเรื่องเงินปันผลและสิทธิต่างๆ ที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทที่กองทุนไปลงทุน โดยผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งอาจเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง
|
9.2
|
เหตุใดจึงต้องมีผู้รับฝากทรัพย์สิน
|
ตอบ
|
หลักการของการมีผู้รับฝากทรัพย์สิน คือ ต้องการให้มีระบบควบคุมและสอบยัน (check & balance) โดยบุคคลที่สามที่ไม่ใช่บริษัทจัดการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ทรัพย์สิน ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีภาระค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น แต่ก็จำเป็นต้องมีผู้รับฝากทรัพย์สินเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว
|
9.3
|
ใครมีหน้าที่ในการเลือกและทำสัญญากับผู้รับฝากทรัพย์สิน (บริษัทจัดการ หรือคณะกรรมการกองทุน)
|
ตอบ
|
คณะกรรมการกองทุนสามารถเลือกและทำสัญญากับผู้รับฝากทรัพย์สินได้ โดยแจ้งชื่อให้บริษัทจัดการทราบ หรือจะให้บริษัทจัดการเลือกและทำสัญญากับผู้รับฝากทรัพย์สินก็ได้ ทั้งนี้ กรณีที่บริษัทจัดการเลือกบริษัทในเครือของบริษัทจัดการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน บริษัทจัดการจะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุน และต้องอธิบายให้คณะกรรมการกองทุนเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วย
|
9.4
|
บริษัทจัดการจะทำหน้าที่เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนที่ตนรับจัดการได้หรือไม่
|
ตอบ
|
โดยหลักผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเป็นบุคคลที่สามแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดการอาจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินได้ในกรณีที่มีบริษัทจัดการหลายรายร่วมกันจัดการกองทุนโดยแบ่งแยกหน้าที่กันชัดเจน เช่น บริษัทจัดการ A ทำหน้าที่จัดการลงทุน บริษัทจัดการ B ทำหน้าที่งานด้านการปฏิบัติการ (back office) ซึ่งรวมถึงการจัดทำทะเบียนสมาชิก ในกรณีนี้ บริษัทจัดการ B ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่จัดการลงทุนอาจรับเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินให้แก่กองทุนนั้นได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย
|
9.5
|
คณะกรรมการกองทุนจะให้ผู้รับฝากทรัพย์สินส่งรายงานแก่คณะกรรมการกองทุนโดยตรงได้หรือไม่
|
ตอบ
|
ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้รับฝากทรัพย์สินกับคณะกรรมการกองทุน โดยอาจกำหนดให้ผู้รับฝากทรัพย์สินส่งรายงานให้ทั้งบริษัทจัดการและคณะกรรมการกองทุนก็ได้
|
9.6
|
ผู้รับฝากทรัพย์สิน กับผู้รับรองต้องเป็น นิติบุคคล เดียวกันหรือไม่
|
ตอบ
|
ผู้รับฝากทรัพย์สินกับผู้รับรองมูลค่า ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่บริษัทใดบริษัทหนึ่งสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน และผู้รับรองมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
|
9.7
|
ในกรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะใช้ผู้รับฝากทรัพย์สินที่เป็นนายจ้างในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้หรือไม่ และหากใช้ได้จะต้องทำเอกสารส่วนเพิ่มในเรื่องใดบ้าง
|
ตอบ
|
กรณีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประสงค์จะให้นายจ้างเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน สามารถกระทำได้หากนายจ้างรายนั้นมีใบอนุญาตเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินอยู่แล้ว และมีระบบการแบ่งแยกทรัพย์สินของตนเองกับทรัพย์สินลูกค้าอย่างชัดเจน ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรับฝากทรัพย์สินเช่นเดียวกับลูกค้าทั่วไปตามประกาศกำหนด
|
9.8 |
จะมั่นใจได้อย่างไรว่าเงินที่สะสมสมทบอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งมีผู้รับฝากทรัพย์สินดูแลจะยังคงอยู่และเมื่อสมาชิกลาออกจากกองทุนจะยังคงได้เงินครบถ้วน
|
ตอบ |
สำนักงานกำหนดให้ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนตลอดจนติดตามสิทธิประโยชน์ในเรื่องเงินปันผลและสิทธิต่างๆที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทที่กองทุนไปลงทุนโดยผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานซึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่สำนักงานกำหนดท่านจึงสามารถมั่นใจได้ว่าเมื่อสมาชิกลาออกจากกองทุนจะได้รับเงินครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน
|
|
ข้อควรทราบ : คำตอบที่แสดงนี้เป็นการตอบตามกฎเกณฑ์ที่มีผลบังคับใช้ในขณะที่มีการตอบคำถามในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ thaipvd@sec.or.th
|