นายจ้างใจดีสายเปย์

ปัจจุบันนายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เป็นสวัสดิการเงินเพิ่มพิเศษให้แก่ลูกจ้างมีจำนวนกว่า 20,000 ราย ซึ่งเป็นนายจ้างหลายประเภท อาทิ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน 

ปัจจุบันนายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เป็นสวัสดิการเงินเพิ่มพิเศษให้แก่ลูกจ้างมีจำนวนกว่า 20,000 ราย ซึ่งเป็นนายจ้างหลายประเภท อาทิ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน เคยสงสัยหรือไม่ว่านายจ้างใจดีสายเปย์เหล่านี้มีลักษณะอย่างไร มีแนวทางการคัดเลือกบริษัทจัดการอย่างไร มีอุปสรรคและวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง รวมถึงมีแนวคิดในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรที่จะกระตุ้นให้ลูกจ้างมีเงินออมและลงทุนระยะยาว เพื่อให้เงินออมงอกเงยและเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายหลังเกษียณ 

สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (AOP) ได้คัดเลือกนายจ้างใจดีสายเปย์ 4 ราย ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน เพื่อเป็นตัวอย่าง best practices ความใส่ใจของนายจ้างทั้ง 4 รายที่มีต่อลูกจ้างของตน ผ่านคลิปวิดีโอตามด้านล่าง 

หากนายจ้างและคณะกรรมการกองทุนท่านใดเห็นว่าเป็นประโยชน์ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสไตล์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนเองได้เช่นกัน เพื่อร่วมกันเดินหน้าส่งเสริมให้ลูกจ้างมีสุขภาพทางการเงินและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ ตั้งแต่วันนี้!!


ธนาคารแห่งประเทศไทย 


นาทีที่ 4.39 โครงสร้างคณะกรรมการกองทุน
นาทีที่ 5.22 การคัดเลือกและประเมินผลบริษัทจัดการ
นาทีที่ 8.13 แนวทางส่งเสริมการออม
นาทีที่ 11.35 วิธีการให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม
นาทีที่ 14.04 อุปสรรคและการแก้ปัญหา


การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


นาทีที่ 3.59 โครงสร้างคณะกรรมการกองทุน
นาทีที่ 6.13 การคัดเลือกและประเมินผลบริษัทจัดการ
นาทีที่ 9.21 แนวทางส่งเสริมการออม
นาทีที่ 11.10 วิธีการให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม
นาทีที่ 13.34 อุปสรรคและการแก้ปัญหา


บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)


นาทีที่ 3.34 โครงสร้างคณะกรรมการกองทุน
นาทีที่ 5.22 การคัดเลือกและประเมินผลบริษัทจัดการ
นาทีที่ 8.30 แนวทางส่งเสริมการออม
นาทีที่ 9.48 วิธีการให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม
นาทีที่ 11.19 อุปสรรคและการแก้ปัญหา


ธนาคารออมสิน


นาทีที่ 6.08 โครงสร้างคณะกรรมการกองทุน
นาทีที่ 6.43 การคัดเลือกและประเมินผลบริษัทจัดการ
นาทีที่ 8.38 แนวทางส่งเสริมการออม
นาทีที่ 9.22 วิธีการให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม
นาทีที่ 10.23 อุปสรรคและการแก้ปัญหา