นายจ้างใจดี

เราจะฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน

เราจะฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน

กว่าหนึ่งปีที่ทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 การทำธุรกิจของนายจ้างในหลากหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ ทำให้นายจ้างหลายรายมีความจำเป็นต้องลด

กว่าหนึ่งปีที่ทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 การทำธุรกิจของนายจ้างในหลากหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ ทำให้นายจ้างหลายรายมีความจำเป็นต้องลดหรือยกเลิกค่าใช้จ่ายบางประเภท โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่นายจ้างพิจารณาปรับลดเช่นกัน

ข้อมูลสถิติในปี 2563 พบว่า มีจำนวนนายจ้างขอยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งที่เป็นการยกเลิกสวัสดิการหรือเลิกกิจการ จำนวน 462 ราย ซึ่งมีลูกจ้างที่อยู่ภายใต้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 18,736 ราย เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2562 ขณะเดียวกันมีนายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้แต่ยังคงสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งได้ขอปรับลดอัตราเงินสะสม-สมทบลง จำนวน 517 ราย (ก.พ.-ธ.ค. 63) โดยมีลูกจ้างที่อยู่ภายใต้นายจ้างกลุ่มนี้จำนวน 78,958 ราย ซึ่งนายจ้างกลุ่มหลังนี้นับเป็นนายจ้างใจดีและแข็งแกร่งสู้โควิด-19 เพราะได้สะท้อนให้เห็นว่าแม้เผชิญกับวิกฤต แต่ก็ยังเห็นความสำคัญของการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเป็นหลักประกันรองรับการเกษียณสำหรับลูกจ้าง

ก.ล.ต. ขอขอบคุณและชื่นชมนายจ้างทุกท่านจากใจจริงที่ยังคงมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นขุมทรัพย์เงินเกษียณให้แก่ลูกจ้างรวมทั้งนายจ้างที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในภาวะวิกฤตนี้ด้วย และขอเป็นกำลังใจให้นายจ้างทุกรายผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลงในอนาคต นายจ้างที่ยกเลิกและถอนตัวจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะกลับมามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างเช่นเดิม เพื่อผลักดันให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเครื่องมือสำคัญหนึ่งในการออมการลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพหลังเกษียณสำหรับลูกจ้างทุกคน